< Back

Green Business คืออะไร ทางรอดของแบรนด์ยุคใหม่ในโลกสีเขียว

การสร้างประสบการณ์ที่ดีdigitalgreen business
AD
โดย:Jenosize.com
share1.39kshare0

Green Business คืออะไร รู้จักเทรนด์ใหม่ที่ธุรกิจต้องปรับตัว

ปัจจุบัน โลกของเราประสบภัยมากมาย โดยเฉพาะภาวะโลกร้อนและมลพิษทางอากาศ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น หากเป็นเช่นนี้ต่อไป คนรุ่นหลัง ๆ ก็อาจจะประสบภัยพิบัตินานับประการ ส่งผลให้ผู้บริโภคยุคใหม่มีความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น โดยการมองหาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อโลก เลือกอุดหนุนแบรนด์ที่มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าแบรนด์ที่ทำธุรกิจแบบทำลายสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น เหล่าแบรนด์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคของ “Green Business” อย่างจริงจัง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และช่วยให้โลกของเรากลับมาเป็นสีเขียวดังเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


Green Business คืออะไร ?

Green Business คือ ธุรกิจที่ดำเนินการโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยมลพิษ และส่งเสริมความยั่งยืนมากกว่าจะผลิตสินค้าแบบฟาสต์แฟชั่น

ตัวอย่างธุรกิจสีเขียว เช่น

  • ธุรกิจที่ผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย
  • ธุรกิจที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม
  • ธุรกิจที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
  • ธุรกิจที่มีนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ธุรกิจที่ไม่ทารุณสัตว์เพื่อผลิตสินค้า


ความสำคัญของ Green Business คืออะไร ?



ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่

อย่างที่เราเห็นกันว่าช่วงหลังมานี้ ภัยที่เกิดจากการทำลายธรรมชาติของโลกเราแย่ลงมาก ผู้บริโภคจึงหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ด้วยการเลือกอุดหนุนแบรนด์ที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าเป็น Green Business กล่าวคือ ไม่มีขั้นตอนใดในกระบวนการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และมีนโยบายส่งเสริมการรักษ์โลก เช่น แทนที่จะเลือกซื้อเครื่องสำอางทั่วไปเหมือนเมื่อก่อน แต่ตอนนี้ผู้บริโภคก็เริ่มให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่มีสัญลักษณ์ “Cruelty-free” ซึ่งบ่งบอกว่าไม่มีการทารุณสัตว์เพื่อผลิตสินค้ากันมากขึ้น เป็นต้น


ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ธุรกิจ

เมื่อสามารถผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้แล้ว สิ่งที่ตามมา คือ ธุรกิจสีเขียวจะมีภาพลักษณ์ที่ดี น่าเชื่อถือในสายตาของสาธารณะ เพราะเป็นแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงช่วยประชาชนทั่วไปขับเคลื่อนและให้ความสำคัญกับปัญหาที่โลกของเรากำลังประสบ นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ที่ดียังช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจดึงดูดพาร์ตเนอร์ที่มีความสามารถมาร่วมงานกันได้อีกด้วย


ช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นบางส่วน

การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยมลพิษ และลดการใช้บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นพลาสติกจะช่วยให้ธุรกิจประหยัดต้นทุนบางส่วนลงได้ ที่เห็นได้ชัดในช่วงหลังมานี้ ได้แก่ การงดให้ถุงพลาสติก ช้อน ส้อมพลาสติก การใช้กล่องส่งของซ้ำ การขายสินค้ารีฟิล ให้ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์เก่ามาเติมเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสระผม น้ำยาล้างจาน น้ำมันพืช ข้าวสาร ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ความงามอย่างพวกเครื่องสำอาง


สร้างความยั่งยืนแก่โลก

และข้อที่สำคัญที่สุดของ Green Business ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือ ช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่โลกของเรา เน้นผลิตสินค้าโดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด เพราะอย่างที่นักธุรกิจทั้งหลายน่าจะเข้าใจดีกว่า การทำแบรนด์หนึ่ง ๆ ออกมานั้นต้องใช้ทรัพยากรที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน ดังนั้น ในฐานะผู้ประกอบการ หากเราสามารถลดการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นได้ แล้วหันมาทำธุรกิจสีเขียวแทน ก็จะสามารถช่วยโลกได้อีกมากทีเดียว

 

แนวทางการทำการตลาดแบบ Green Business


ประกาศจุดยืนของแบรนด์ให้ชัด

ในโลกแห่งการทำธุรกิจ เรามีจุดยืนแบบไหนก็ต้องสื่อสารออกไปให้ลูกค้ารับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ผู้บริโภคกำลังมองหาแบรนด์ที่เป็นธุรกิจสีเขียว เรายิ่งต้องบอกออกไปเพื่อเอาตัวเองเข้าไปเป็นหนึ่งในตัวเลือกของลูกค้า แต่จะเป็นที่หนึ่งในใจได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์มีความจริงใจและจริงจังในเรื่องการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะดูออกว่าธุรกิจไหนทำเพื่อเอาใจลูกค้าเฉย ๆ กับธุรกิจไหนมีจุดยืนด้านนั้น ๆ จริง ๆ


บอกเล่าเรื่องราวการดำเนินธุรกิจสีเขียว

แค่ประกาศจุดยืนอย่างเดียว บางทีอาจไม่ชัดเจนหรือยังทำให้ผู้บริโภคเห็นภาพได้ไม่มากพอ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องมีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับความพยายามของตนเองในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุดระหว่างกระบวนการผลิตสินค้าด้วย เช่น หากไม่ใช้สัตว์เป็นตัวทดลองเครื่องสำอางหรือสกินแคร์ แล้วใช้อะไรทดแทน แล้วจะปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริงไหม


ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

งดใช้พลาสติก แล้วเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้หรือย่อยสลายง่ายแทน เช่น ร้านกาแฟหันมาใช้หลอดไม้ไผ่แทนหลอดพลาสติก ร้านอาหารใช้ใบตองรองจานอาหารแทนกระดาษ ใช้กล่องข้าวชานอ้อยแทนกล่องโฟม ร้านค้าออนไลน์งดใช้บับเบิลกันกระแทกห่อสินค้า สำหรับของที่ไม่ได้แตกง่าย หรือไม่ได้ต้องการการกันกระแทกขนาดนั้น ร้านขายปลีกใช้ถุงพลาสติกที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ 100% แทนถุงพลาสติกแบบเดิม


สนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจากจะประกาศจุดยืน แชร์เรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ และเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแล้ว อีกหนึ่งแนวทางการทำ Green Business คือ การสนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมนอกองค์กร ด้วยการร่วมกิจกรรมหรือบริจาคเงินให้กับโครงการที่มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ PR Marketing ก็ได้ โดยการทำเช่นนี้จะช่วยให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดีขึ้น และเป็นที่รับรู้ในวงกว้างมากขึ้นด้วยว่าเราคือธุรกิจสีเขียวที่ให้ความสำคัญกับปัญหาทางธรรมชาติ


อยากเอาใจผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กับช่วยฟื้นฟูโลกให้กลับมาเป็นสีเขียวอย่างในอดีต Green Business คือกลยุทธ์ที่สำคัญที่ผู้ประกอบการทั้งหลายไม่ควรพลาด เพราะนอกจากจะสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนบางส่วนและได้ช่วยเหลือโลกของพวกเราทุกคนอีกด้วย


ทำการตลาดให้โดนใจลูกค้าไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณร่วมงานกับเจโนไซส์ โดยทีมงานของเรามีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการช่วยธุรกิจออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่ช่วยสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมการขาย และขับเคลื่อนประสบการณ์ลูกค้าให้เป็นไปในเชิงบวก ติดต่อเราได้เลยวันนี้ !

Related Content

ร่วมเปิดกล่องโอกาส
แห่งอนาคตด้วยกัน

Contact

Brief Us

ง่ายและรวดเร็ว
เราจะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

facebook chat

คุยกับทีมฝ่ายขาย

ให้บริการ จันทร์ถึงศุกร์
9:00 น. - 19:00 น.

mobile

โทรติดต่อฝ่ายขาย

ให้บริการ จันทร์ถึงศุกร์
9:00 น. - 19:00 น.